อุดฟัน คืออะไร
การอุดฟัน เป็นกระบวนการที่ใช้วัสดุสังเคราะห์เติมเข้าไปในฟันที่มีส่วนที่สูญเสีย เช่น ช่องโพรงฟันที่เกิดจากการผุเสีย หรือการกัดกร่อนของฟัน เพื่อซ่อมแซมและคืนความแข็งแรงแก่ฟันโดยใช้วัสดุที่เหมาะสม ซึ่งมักจะเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติคล้ายกับฟันจริง ๆ เช่น อะโครลิคเรสิน หรือเรสินคอมโพสิต ซึ่งจะช่วยลดความรู้สึกที่ไม่สบาย และป้องกันไม่ให้เกิดการเสื่อมสภาพของฟันต่อไปและลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุในอนาคต
วัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน คืออะไร
การเลือกวัสดุในการอุดฟันเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ทันตแพทย์และผู้ป่วยสามารถรับมือกับปัญหาทางด้านสุขภาพช่องปากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันมีวัสดุในการอุดฟันที่หลากหลาย โดยที่สองวัสดุหลักที่นิยมใช้คือ วัสดุอุดฟันสีโลหะ หรือ Amalgam Filling และวัสดุอุดฟันสีเหมือนฟันหรือ Resin Composite Filling โดยมีลักษณะและข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
วัสดุอุดฟันสีโลหะ (Amalgam Filling)
เป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูงและมีความคงทนต่อการบดเคี้ยวอย่างดี เนื่องจากวัสดุชนิดนี้ทำมาจากการผสมของโลหะเช่น ปรอท, เงิน, และดีบุก มีราคาไม่แพงและเป็นที่นิยมใช้ในการอุดฟันที่ต้องการความทนทาน เช่น ฟันกราม แต่มักไม่เหมาะสำหรับการใช้ที่ฟันหน้าที่ต้องการความสวยงาม เนื่องจากมองเห็นสีของวัสดุได้ชัดเจน
ข้อดี | ข้อเสีย | ||
ราคาถูกกว่าวัสดุอุดฟันเหมือนสีฟัน | มองเห็นสีของวัสดุได้ชัดเจน | ||
คงทนแข็งแรงต่อการบดเคี้ยว | ต้องมีการกรอเนื้อฟันจริงๆ ออก |
การใช้งานสะดวกและง่ายต่อดูแล |
|
วัสดุอุดฟันเหมือนสีฟัน (Resin Composite Filling)
วัสดุอุดฟันสีเหมือนฟันเป็นการอุดฟันที่ให้ความสวยงามและเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถปรับสีให้เข้ากับสีของฟันธรรมชาติได้ดีมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ทันทีหลังจากการอุดโดยไม่ต้องรอให้วัสดุแข็งตัวเหมือนกับวัสดุสีโลหะ แต่การทำโดยต้องใช้การกระตุ้นด้วยแสงทำให้ขั้นตอนในการทำอุดฟันนี้มีความซับซ้อนและต้องใช้เวลามากขึ้น
ข้อดี | ข้อเสีย | ||
วัสดุสีเหมือนฟันมีสีใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ | มีราคาสูงกว่าวัสดุสีโลหะ | ||
มีความปลอดภัยมากกว่าการอุดฟันโดยใช้วัสดุสีโลหะ | มีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าการอุดฟันแบบสีโลหะ |
มีความสวยงามเนื่องจากสามารถปรับสีให้เข้ากับฟันธรรมชาติได้ | อาจจะรู้สึกผิวฟันไม่เรียบเนียนเหมือนกับฟันปกติ |
การอุดฟันไม่เพียงแค่เป็นการซ่อมแซมฟันเท่านั้นแต่ยังเป็นการป้องกันและรักษาปัญหาทางด้านสุขภาพช่องปากอีกด้วยคำแนะนำที่ดีที่สุดคือให้ดูแลสุขภาพช่องปากของเราอย่างสม่ำเสมอ และเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากจากทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อป้องกันปัญหาทางด้านสุขภาพช่องปากให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด การอุดฟันช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของฟัน การอักเสบเหงือก การติดเชื้อ และรักษาฟังก์ชันการกัดเคี้ยวของฟันไว้ในสภาพปกติด้วย
การเตรียมตัวก่อนการอุดฟันเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างเรียบร้อยและปลอดภัยมากที่สุด เรามาดูกันว่าควรทำอะไรก่อนการอุดฟันบ้าง
แจ้งเจ้าหน้าที่และทันตแพทย์เกี่ยวกับสุขภาพหากคุณมีโรคประจำตัวหรือกำลังรับประทานยาประจำ ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบเสมอเพื่อให้สามารถปรับการรักษาและการให้บริการอย่างเหมาะสม | |
ทำความสะอาดช่องปากและฟันอย่างละเอียดการแปรงฟันอย่างถูกต้องและใช้ไหมขัดฟันสามารถช่วยลดการติดเชื้อและ กัดกร่อนที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเกี่ยวกับช่องากได้ |
รับประทานอาหารก่อนเข้ารักษาหากคุณจะได้รับการอุดฟันแบบโลหะควรรับประทานอาหารก่อนการรักษาเนื่องจากหลังการอุดฟัน จะต้องรอวัสดุแข็งตัวก่อนซึ่งใช้เวลาค่อนข้าวนาน ถึงจะรับประทานอาหารได้ |
การดูแลตนเองเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การรักษาฟันเรียบร้อยและยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาเพิ่มเติมได้อีกด้วย นี่คือบางข้อแนะนำในการดูแลตนเองหลังการอุดฟัน
งดเคี้ยวหรือใช้งานฟันที่อุด หลังจากการอุดฟันแบบโลหะควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารหรือใช้งานฟันที่อุดเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ซึ่งช่วยให้วัสดุอุดฟันมีเวลาที่เพียงพอในการแข็งตัวและเข้ารูปเต็มที่ | |
การแปรงฟันอย่างถูกวิธี ควรใช้แปรงสีฟันที่มีขนนุ่มและไม่ทำลายบริเวณที่อุดฟัน และควรแปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน โดยแปรงฟันอย่างละ 2-3 นาทีในแต่ละครั้ง |
ลดการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อฟัน ควรหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำมาก เช่น อาหารที่เย็นจัดหรือร้อนจัด เพราะอาหารที่มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำมากอาจทำให้วัสดุอุดฟันขยายหรือหดตัวซึ่งอาจจะเกิดการแตกหักได้ |
ควรกลับมาพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือนเพื่อทำการตรวจสุขภาพฟัน และรับการทำความสะอาดฟันเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับฟัน |
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor